วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 18 กันยายน 2557  ครั้งที่ 5
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

สรุปหลังการเรียน

  กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน
         อาจารย์ให้นักศึกษาคิดภาพที่มีสัมพันธ์กัน แล้ววาดลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ เสร็จแล้วให้เสียบไม้ใช้กาวติดกระดาษให้ไม้ติดกับกระดาษ

                    กิจกรรมที่เราประดิษฐ์ใส่ไม้
-           -   เป็นการเสริมพัฒนาการด้านการคิด จินตนาการ ผ่านประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน
          -   การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของพัฒนาการในวัยเด็ก ครูควรเข้าใจและเห็นคุณค่าการคิดของเด็ก
          -   การเล่นที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน บันเทิง กระตุ้นการเรียนรู้ ท้าทาย จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็ก
          -   เป็นการกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมรักการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
          -   กระบวนการเล่นเป็นสิ่งกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็ก เช่น การสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การเล่นยังมีผลดีมากต่อการพัฒนาการของกล้ามเนื้อ และการทำงานของระบบกล้ามเหล่านั้น จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
          -   ขั้นตอนและกระบวนการเล่นยังสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ฝึกการคิดแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล ตอบสนองต่อความคิด และจินตนาการ
         -   การเล่นยังทำให้เด็กได้ ผ่อนคลาย ลดความเครียด เด็กสามารถที่จะระบายความเครียด ที่อยู่ใต้จิตสำนึกที่ไม่สามารถแสดงออก หรือบอกออกมาเป็นคำพูดได้ โดยใช้การเล่นแบบการจินตนาการ
           
              ความลับของแสง

     ความหมาย
แสงคือคลื่นชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นของน้ำทะเล มีความยาวของคลื่นสั้นมาก และในขนาดเดียวกันก็เคลื่อนที่เร็วมาก 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที เปรียบให้เห็นง่ายๆ ถ้าคนเราวิ่งเร็วเท่าแสง ก็เท่ากับวิ่งรอบโลก 7 รอบใน 1 วินาทีนั้นเอง

         ความสำคัญ
ถ้าไม่มีแสง เราก็ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้ แสงมีความสำคัญมากกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นเราอยู่ในความมือแล้วจู่ๆก็สว่าง เราก็จะแสบตามองเห็นไม่ชัด เกิดจากตายังปรับตัวกับแสงสว่างไม่ทัน การเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไป เราก็หลับตาสักพักแล้วลืมตาใหม่ ก็จะเหมือนเดิมนั้นเอง

          คุณสมบัติ
คุณสมบัติของแสงเราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากการมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้แล้ว ยังมีอีก เช่นใช้แผ่นพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่ออกจากโคมไปยังทิศที่ต้องการ ใช้พลาสติกใสปิดดวงไฟเพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติแสงดังกล่าวก็ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทั้งนั้น

         สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้นั้น
 ก็เพราะว่า แสงส่องมาโดนวัตถุ แล้วแสงก็จะสะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาของเรา เราเลยมองเห็น เท่ากับว่าตาของเรานั้นคือจอสำหรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง ซึ่งการเดินทางของแสงจะพุ่งออกมาเป็นเส้นตรง ไม่เปลี่ยนทิศทางไปจนไปถึงวัตถุ

        วัตถุต่างๆบนโลกที่เกี่ยวกับแสงมีด้วยกันทั้งหมด3แบบ

1. วัตถุโปร่งแสง คือแสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ้า
2. วัตถุโปร่งใส คือแสงผ่านไปได้ทั้งหมด มองเห็นชัดเจน เช่น กระจกใส
3. วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้าตาเรา เช่น ตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสง และสิ่งของต่างๆอีกมากมาย


นำกล่องโฟม1 ใบ มาเจาะรู 1 รู แล้วเปิดฝานำวัตถุใส่ลงไปในกล่อง แล้วปิดฝาให้สนิท สิ่งที่เห็นคือ ภายในกล่องจะมืดสนิทมองไม่เห็นวัตถุ แล้วลองเปิดฝากล่องแล้วลองมองใหม่ สิ่งที่เห็นคือ วัตถุที่อยู่ในกล่อง เพราะมีแสงส่องเข้ามาโดนวัตถุที่เรามองเห็นวัตถุรอบตัวได้เพราะมีแสงส่องลงมาสิ่งต่างๆรอบตัวและแสงยังต้องสะท้อนกับวัตถุแล้วส่งมาที่ตาของเรา ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอรับแสงนั่นเอง


  

คือ คลื่นชนิดหนึ่งที่มีพลังงานการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอืนฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น