วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่17



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 4 ธันวาคม 2557  ครั้งที่ 17
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


   วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่เสนอวิจัยในอาทิตย์ที่แล้วออกมาเสนอวิจัยของตัวเอง โดยมีชื่อวิจัย  การส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย  ในวิจัยบอกความสัมพันธ์จากข้อมูลที่มีความเห็นจากการสังเกต การสังเกต การวัด การทดลอง ใช้กิจกรรมการบูรณาการโดยการใช้คำถาม

เมื่อเพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มโดยให้เป็นกลุ่มเดียวกับที่เขียนแผนการเรียนการสอน แล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษคนละ1แผ่นโดยเอาอันที่สวยที่สุดของกลุ่มมาส่ง เพื่อทำเป็นแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง

กิจกรรมที่กลุ่มดิฉันได้ทำกัน




การนำไปประยุกต์ใช้
          วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอออกมานำเสนองานวิจัยที่ตนเองเตรียมมาก็สามารถนำวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอไปปรับใช้ในอนาคตได้ โดยที่อาจารย์จะคอยสอดแทรกเนื้อหาให้เพิ่มเติมและเน้นหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนอีกด้วย ทำให้เราได้รู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ไปสอนเด็กได้จริงในอนาคต กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ได้ให้ทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ก็สามารถนำไปประยุกค์ใช้อย่างอื่นได้อีกมากมายและนำแผ่นพับของเพื่อนมาบูรณาการได้เพิ่มอีกด้วย

การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัย  ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำสิ่งที่ขาดและรายละเอียดต่างๆของวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอและสามารถทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ออกมาค่อนข้างดี
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ได้ออกมานำเสนองานวิจัยของตัวเองหน้าชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังอาจารย์ติชมและข้อดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยที่จะนำไปใช้สอนเด็ก และตั้งใจทำแผ่นพับกันอย่างเต็มที่
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา คอยให้คำแนะนำที่เพื่อนนำเสนอวิจัย หลักการสอนให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้นำกิจจกรมในวิจัยไปประยุกค์ใช้ให้ดียิ่งขึ้นและถูกต้องสมบูรณ์แบบ และอาจารย์ก็ทำวิธีการทำแผ่นพับโดยละเอียดอีกด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 16
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



การนำไปประยุกต์ใช้
          วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอออกมานำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูที่ตนเองเตรียมมาทีละคนโดยเรียงตามเลขที่ โดยที่อาจารย์จะคอยสอดแทรกเนื้อหาให้เพิ่มเติมและเน้นหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนอีกด้วย ทำให้เราได้รู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ไปสอนเด็กได้จริงในอนาคต ตอนสุดท้ายอาจารย์ได้ให้คำแนะนำการเขียนแผนของแต่ละกลุ่มเพื่อที่จะนำไปเขียนให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
         
การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำสิ่งที่ขาดและรายละเอียดต่างๆของการเขียนแผน
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ได้ออกมานำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูของตัวเองหน้าชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังอาจารย์ติชมและข้อดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแผนที่จะใช้สอนเด็ก
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา คอยให้คำแนะนำที่เพื่อนนำเสนอและรูปแบบการเขียนแผน หลักการสอนให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เขียนแผนที่ดีขึ้นและถูกต้องสมบูรณ์แบบ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 15
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำของเล่นวิทยาศาสตร์ของตัวเองมาจำแนกให้ถูกหมวดหมู่ โดยกลุ่มแรกจะเป็นเรื่องของจุดศุนย์ถ่วง กลุ่มที่สองจะเป็นเรื่องของเสียง กลุ่มที่สามจะเป็นเรื่องของลม-อากาศ พลังงานที่เกิดจากลม กลุ่มที่สี่จะเป็นเรื่องของน้ำ กลุ่มที่ห้าจะเป็นเรื่องพลังงาน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง กลุ่มที่หกจะเป็นเรื่องของแรงดันอากาศ










กิจกรรมที่ 3   อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทำอาหารกัน โดยแบ่งให้กลุ่มละ 6 คน





















บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 14
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


สรุปวิจัย


วิทยานิพนธ์
ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้เขียน นางสาวรุ่งระวี ศิริกิตศัพท์
บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ..2549
ความสำคัญของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยควรเปิดโอกาสให้เด็กได้สังเกต กำหนดความคิดเห็นและจำแนกประเภทด้วยตนเอง รวมสรุปถึงผลการทดลองที่ค้นพบครูมีบทบาทที่กำหนดสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นและให้คำแนะนำเกี่ยวกับขอบข่ายต่างๆ การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการสังเกต สำรวจ ค้นคว้า ทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลและลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆมากที่สุดโดยเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อน โดยคำนึงถึงความสนใจและความสามารถของเด็ก และสถานการณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถพัฒนาความคิดและหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ได้มากที่สุด
ทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 6 ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการแสงปริมาณหรือการวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการลงความเห็น
6.ทักษะการหามิติความสัมพันธ์


ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
     กลุ่มประชาชนที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือเด็กปฐมวันที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่3โรงเรียนอนุบาลคหกรรมศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา2549จำนวน96คน
กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา2549 รวม19 คน โรงเรียนอนุบาลคหกรรมศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากการสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง
 กิจกรรมที่1 พีชต้องการแสงแดด
 เด็กปฐมวัยได้ทดลองทำการเพาะปลูกเมล็ดถั่วเขียวเพื่อทำการสังเกตการทดลอง ซึ่งการทดลองผู้วิจัยให้เพาะเมล็ดถั่ว 2 ถาดถาดที่ 1 ปลูกในที่มีแสงแดดส่องถึงถาดที่ 2 ปลูกแล้วใช้กล่องกระดาษครอบไว้ไม่ให้แสงแดดส่องถึง เพื่อทำการสังเกตว่า ทั้งสองถาดมีความแตกต่างกันหรือไม่ เด็กปฐมวัยได้ผ่านการตั้งสมมติฐาน และทำการสังเกตทุกวันจนครบ 1 สัปดาห์จากการทดลองพบว่ากิจกรรมนี้เด็กให้ความสนใจมาก สามารถสังเกตเห็นถึงพัฒนาการและความแตกต่างของสีใบไมที่พบเห็นจากการทดลองและเมื่อสรุปผลกิจกรรมผู้วิจัยให้เด็กปฐมวัยร่วมกันสรุปผลเด็กปฐมวัยสามารถอธิบายผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมที่ 2 ประสาทสัมผัส
 จากการทดลองกิจกรรมนี้ผู้วิจัยแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มประสาทสัมผัสที่ผู้วิจัยกำหนดให้ออกมาคัดแยกประเภทวัตถุตามประสาทสัมผัสได้เด็กปฐมวัยสามารถบอกเหตุผลในการใช้ประสาทสัมผัสได้อย่างถูกต้องแต่มีบางกลุ่มที่คัดแยกประเภทสิ่งของได้ไม่ครบกำหนดผู้วิจัยจึงใช้คำถามกระตุ่นให้เด็กปฐมวัยคิด ซึ่งเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการกระตุ่นก็สามารถคัดแยกวัตถุได้จนครบตามที่ผู้วิจัยกำหนดให้ได้


 กิจกรรมที่ 3 วัตถุลอยจม
 กิจกรรมวัตถุลอยและจม ผู้วิจัยจัดเตรียมวัตถุต่างๆไว้และให้เด็กปฐมวัยทดลองตั้งสมมติฐาน โดยการให้เด็กปฐมวัยช่วยกันคัดแยกประเภทสิ่งของที่สามารถลอยน้ำหรือจมน้ำออกเป็น 2 ตะกร้าก่อนการทดลองเด็กปฐมวัยสามารถแยกวัตถุส่วนใหญ่ได้ถูกต้องแต่มีกระดาษและกระดาษทิชชูที่เด็กๆ คิดว่าลอยน้ำได้โดยให้เหตุผลว่ากระดาษมีน้ำหนักเบาจึงลอยน้ำได้และคัดแยกกระดาษไวในตะกราวัตถุที่ลอยน้ำในการทดลองเด็กปฐมวัยไดออกมาหยิบวัตถุต่างๆลอยน้ำด้วยตนเอง เมื่อทดลองแล้วเด็กปฐมวัยสังเกตเห็นว่ากระดาษจะค่อยๆ จมน้ำ ซึ่งแตกต่างจากที่ตั้งสมมติฐานไว้ในตอนแรกแต่ก็สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลของตนเองว่าเป็นเพราะน้ำจะค่อยๆซึมผ่านกระดาษ กระดาษจึงหนักขึ้นแล้วค่อยๆ จมน้ำไปเอง เมื่อทดลองเสร็จแล้วผู้วิจัยให้เด็กคัดแยกวัตถุทุกชิ้นออกจากกันอีกครั้งจากการสรุปผลเด็กปฐมวัยสามารถแยกวัตถุได้อย่างถูกต้อง
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยเรื่องกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจําแนก สําหรับเด็กปฐมวัย สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้วัตถุประสงค์ในการวิจัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะด้านการสังเกตและการจําแนกโดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการทดลองของเด็กปฐมวัย
สมมุติฐานการวิจัย
สมมุติฐานที่ 1 เด็กปฐมวัยมีทักษะวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
สมมุติฐานที่ 2 เด็กปฐมวัยมีทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
สมมุติฐานที่ 3 เด็กปฐมวัยมีทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจําแนกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
สมมุติฐานที่ 4 เด็กปฐมวัยมีทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจําแนกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง


กิจกรรมที่ 1
เรื่องพืชต้องการแสงแดด
สาระสําคัญ
พืชต้องการแสงแดดเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช
จุดประสงค์การเรียนรู
เพื่อให้เด็กสามารถบอกความแตกต่างของพืชที่ปลูกในที่มีแสงแดดกับพืชที่ไม่ได้รับแสงแดดจะมีลักษณะอย่างไร
สื่อและอุปกรณ์
 1. ถาดโฟม
 2. สําลี
 3. เมล็ดถั่วเขียว
 2. กลองกระดาษ
 3. ใบไมสีเขียวและสีเหลือง
 4. ภาพต้นไม้กลางแจ้ง, ภาพต้นไม่ในกล่อง ,ภาพดวงอาทิตย์
กิจกรรม
ขั้นนํา
1. ครูสนทนากับเด็กถึงกิจกรรมที่จะให้เด็กทำวันนี้คือกิจกรรม พืชต้องการแสงแดด
2. ครูนําภาพดวงอาทิตย์ให้เด็กดูและร่วมกันสนทนาซักถามโดยใช้คําถามนํา
- ภาพนี้เด็กเคยเห็นที่ไหน และถ้าโลกนี้ไมมีดวงอาทิตย์โลกจะเป็นอย่างไร
 3. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาและประโยชน์ของดวงอาทิตย์
4. ครูพาเด็กๆมาที่สนามหญ้า ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของต้นไม้ว่ามีส่วนประกอบใดบ้าง
5. ครูให้เด็กๆฝึกการคาดคะเนว่าต้นไม้ถ้าไม่ได้รับแสงแดดจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง
ขั้นสอน
1. ครูให้เด็กๆแบ่งกลุ่มละ 5 คน
2. ให้เด็กๆช่วยกันปลูกถั่วเขียวบนถาดโฟม 2 ใบ ที่เขียนหมายเลขไว้โดยใช้สําลีชุบน้ำวางไว้บนถาดโฟม แล้วให้เด็กๆช่วยกันโรยเมล็ดถั่วเขียวบนสําลีให้ทั่ว
3. นำถาดใบที่1วางไว้ในที่ๆมีแสงแดดส่องถึงถาดใบที่ 2 วางไว้ในกล่องปิดมิดชิดคอยรดน้ำทุกวันและบันทึกผลหลังจากนั้น1 สัปดาห์ให้นำต้นไม้มาสังเกตความแตกต่างอีกครั้ง
ขั้นสรุป
 1. ครูติดภาพต้นไม้ที่อยู่กลางแจ้ง ภาพต้นไม้ที่อยู่ในกล่องไว้บนกระดาน แจกใบไม้ให้ เด็กๆคนละ 2 ใบ คือใบสีเขียวและใบสีซีดให้เด็กเลือกติดใบไม้บนกระดาน ตามที่สังเกตจากการทดลองการประเมินผล
ประเมินผล
ประเมินจากการสังเกตการร่วมกิจกรรม และการสนทนาตอบคําถาม
กิจกรรมที่ 2
เรื่อง ประสาทสัมผัส
สาระสําคัญ
ประสาทสัมผัสของคนเราทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ได้แก่ ตาใช้ในการมองเห็น หูใช้ในการฟังเสียง จมูกใช้ในการดมกลิ่น ลิ้นใช้ในการรับรูรส และผิวกายใช้สัมผัสสิ่งต่างๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้เด็กบอกถึงหน้าที่และการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวกาย

สื่อและอุปกรณ์
1. หนังสือ บัตรคํา
 2. เครื่องเคาะจังหวะ วิทยุของเล่นเด็กที่มีเสียง
 3. ลูกอม ขนม
 4. ดอกไม น้ำหอม กระดาษหอม
 5. กระดาษทราย ผาไม้กระดาน
 6. บัตรภาพอวัยวะประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประเภท
กิจกรรม
ขั้นนํา
1. ครูสนทนากับเด็กถึงกิจกรรมที่จะให้เด็กทำในวันนี้ คือกิจกรรมการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวกาย
2. ครูอธิบายถึงความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส ให้เด็กๆฟัง และถามคําถามดังนี้
- เด็กใช้อะไรในการมองเห็น
- เด็กใช้สิ่งใดในการได้ยินเสียงบ้าง
- เด็กๆรู้รสชาดโดยใช้อะไร
- เด็กๆได้กลิ่นได้อย่างไร
 - เด็กๆรูสึกถึงสภาพอากาศได้อย่างไร
3. ครูสอนเพลงตาดูหูฟัง


ขั้นสอน
4. นำอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้มารวมกันกลางห้อง
5. ครูให้เด็กแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน โดยแต่ละกลุ่มเลือกของตามการใช้ประสาทสัมผัสที่ครูกำหนด ดังนี้
 - กลุ่มที่ 1 เลือกของที่ใช้ตาดู
 - กลุ่มที่ 2 เลือกของที่ใช้หูฟัง
- กลุ่มที่ 3 เลือกของที่ใช้จมูกดมกลิ่น
- กลุ่มที่ 4 เลือกของที่ใช้ลิ้นชิมรส
- กลุ่มที่ 5 เลือกของที่ใช้ผิวสัมผัส
ขั้นสรุป
 1. ครูนําบัตรภาพอวัยวะประสาทสัมผัสทั้ง 5 วางไว้หน้าห้องแล้วให้เด็กๆแต่ละกลุ่มนำสิ่งของที่เลือกไว้มาวางตามภาพประสาทสัมผัส
การประเมินผล
    ประเมินผลจากการสังเกตการร่วมกิจกรรมและการสนทนาตอบคําถาม
เพลง ตาดูหูฟัง
ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง
สองขายืนแล้วนั่ง สองหูฟัง สองตาดู